หลายคนมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเรื่องสาเหตุที่แท้จริงของสิว เช่น เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ความสกปรกบนใบหน้า ซึ่งจริงบางส่วนค่ะ แต่เคยสงสัยมั๊ยคะว่า เราทำความสะอาดหน้าเราดีมาก มีทั้งใช้ cleanser ล้างด้วยเจลล้างหน้า หรือ โฟม หรือ สบู่ เช็ดหน้าด้วยผ้าสะอาด เช็ดทำความสะอาดอีกรอบด้วยโทนเนอร์ แต่ทำไมสิวก็ยังขึ้น ในขณะที่เพื่อนของเรา แค่ล้างหน้าด้วยสบู่ธรรมดา แต่ทำไมหน้าไม่มีสิว แถมยังหน้าใสกิ๊กอีกต่างหาก .......><
งั้นลองมาดูสาเหตุของสิวต่อไปนี้กันค่ะ
สารพิษสะสมในลำไส้
เชื่อหรือไม่คะ ว่าร่างกายของเราสะสมแบคทีเรียในร่างกายเป็น 10 เท่าของจำนวนเซลล์ในร่างกาย เราแบ่งเจ้าแบคทีเรีย ออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรก : Probiotic เป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์
กลุ่มที่สอง : Phatological เป็นแบคทีเรียตัวร้ายค่ะ
คนที่มีสุขภาพดีจะมีแบคทีเรียกลุ่มแรก 85 % และมีแบคทีเรียกลุ่มที่สอง 15 % อยู่ในร่างกาย
สารพิษที่ว่านั้น ก็เกิดจากแบคทีเรียกลุ่มที่สอง สะสมในร่างกายมากกว่ากลุ่มแรก
ระบบย่อยอาหารมีปัญหา
ระบบการย่อยของมนุษย์ค่อนข้างซับซ้อน การย่อยที่สมบูรณ์จะทำให้มีเอนไซม์จำนวนมาก ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย เอนไซม์บางตัวร่างกายสร้างได้เอง แต่บางตัวมาจากอาหารที่เรากินเข้าไป
เอนไซม์จากภายนอกร่างกาย (หรือเอนไซม์จากอาหาร) จะถูกทำลายเมื่อผ่านกระบวนการปรุงอาหาร และความร้อน อาหารที่ร่างกายย่อยไม่ได้ ร่างกายก็จะไม่นำไปใช้ อาหารที่ไม่ถูกย่อยจะเคลื่อนตัวจากกระเพาะอาหารลงสู่ลำไส้ใหญ่ ดังนั้น ลำไส้ใหญ่ของเราก็จะเป็นเหมือนสถานีเก็บของเหลือใช้ ซึ่งในลำไส้ใหญ่จะมีผนังสำหรับป้องกันแบคทีเรียตัวร้ายที่จะเข้าสู่เส้นเลือด อาหารที่ไม่ถูกย่อยจะมีแบคทีเรียตัวร้ายอยู่ เจ้าแบคทีเรียตัวร้ายนี้แหล่ะที่ก่อให้เกิดสารพิษสะสม (ลองนึกภาพถังขยะที่เราทิ้งเศษอาหารไว้ในครัวเราดูนะคะ) ภาพของลำไส้ใหญ่เราของเรากับถังขยะในครัว เหมือนกันเลยค่ะ แต่ความแตกต่างคือ ในลำไส้ใหญ่ของเรามีลักษณะที่อุ่นและร้อนกว่าถังขยะในครัว ซึ่งเจ้าแบคทีเรียตัวร้ายชอบอาศัยอยู่
(รูป toxin colon ของเสียที่สะสมในลำไส้ใหญ่ กลิ่นแรงมากค่ะ)
ภาพนี้เจ้าของภาพกำจัดออกด้วยการดีท็อกซ์ค่ะ
เจ้าสิ่งนี้มันคือขยะในลำไส้ใหญ่
ถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแค่วันเดียว แบคทีเรียตัวดีที่มีจำนวนเยอะกว่า ก็สามารถกำจัดแบคทีเรียตัวร้ายออกไปได้ แต่ลองจินตนาการว่า ถ้าเกิดขึ้นทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี ล่ะ แน่นอนว่า เกิดการสะสมและเพิ่มปริมาณแบคทีเรียตัวร้ายอย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อในลำไส้ใหญ่มีแต่แบคทีเรียตัวร้าย ซึ่งปล่อยสารพิษออกมา (toxin) สารพิษจะเข้าทำลายผนังลำไส้ใหญ่ที่กั้นไม่ให้สารพิษเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อผนังถูกทำลาย สารพิษจึงเริ่มเดินทางเข้าไปตามกระแสเลือดของเรา เลือดก็จะนำสารพิษเหล่านี้เข้าไปสู่ ตับ และ ไต ตามระบบการไหลเวียนโลหิต ตับและไต ของเราก็เป็นแหล่งกำจัดของเสีย (toxin)
แต่ถ้าของเสียเหล่านี้ ตับและไต ไม่สามารถกำจัดได้ ก็จะถูกเก็บสะสม ไว้ที่เซลล์ไขมัน กระดูก และกล้ามเนื้อ เสมือนกับการฝังสิ่งอันตรายไว้ในเซลล์ของร่างกาย
สิว กับ สารพิษ เกิดขึ้นได้อย่างไร?
เหตุผลที่สารพิษในร่างกายก่อให้เกิดสิวบนใบหน้าหรือส่วนต่างๆของร่างกาย คือ สารพิษถูกผลักออกทางผิวหนังเพราะเซลล์ร่างกายต่อสู้กับสารพิษ จึงผลักให้ออกมาทางผิวหนัง ซึ่งเป็นแหล่งที่มีอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของแบคทีเรีย อีกหนึ่งเหตุผล คือ สารพิษเข้าไปรบกวนการผลิตฮอร์โมนของร่างกาย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทฤษฎีนี้ ก็มีที่มาจากแหล่งเดียวกัน คือ สารพิษรั่วไหลออกจากลำไส้ใหญ่นั่นเอง และสารพิษเหล่านี้ก็เข้าโจมตีจุดที่อ่อนที่สุดของร่างกาย ซึ่งร่างกายของคนเรานั้นถูกออกแบบมาแตกต่างกัน ในขณะที่คนหนึ่งแสดงออกถึงจุดอ่อนในร่างกายเมื่อมีสารพิษสะสมในปริมาณมาก คือ เป็นสิว ส่วนอีกคนแสดงออก คือ ความอ้วน , มีกลิ่นปากแรง, ปวดหัวไมเกรน ภูมิแพ้ โรคอ่อนเพลีย เป็นต้น อาการเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ร่างกายมีสารพิษสะสมมากเกินไป จำเป็นต้องถูกกำจัดออก
สรุปสั้นๆ ดังนี้ค่ะ
อาหารที่ไม่ถูกย่อย --- > ทำให้แบคทีเรียตัวร้ายเจริญเติบโต --- > เกิดสารพิษในตับและไต ---> เ็ป็นสิว
แอร์เชื่อค่ะว่า สารพิษในร่างกายคือบ่อเกิดของสิว .... เพราะเมื่อแอร์ทำดีท็อกซ์ (กำจัดสารพิษออกจากลำไส้)
ผลที่ได้รับคือ สิวยุบลงเร็วมาก ใช้เวลาเฉลี่ยไม่ถึงสัปดาห์ ในขณะที่การใช้ผลิตภัณฑ์หรือว่ายารักษาสิว ให้ผลรักษาโดยใช้เวลานับเดือน หรือ อาจไม่เห็นผลเลย
สาเหตุของอาหารไม่ย่อย
บางคนมีอาการของอาหารไม่ย่อย เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ แต่สำหรับบางคนอาจไม่มีสัญญาณบอกเหตุนั้นเลย ... มีหลายทฤษฎีที่บอกว่า อยากสุขภาพดีต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่อาหารในหมู่โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ทั้งคู่ ทำให้ระบบการย่อยอาหารแย่ลง เพราะการย่อยโปรตีน ต้องใช้กรดที่มีค่าเป็น กลาง ในขณะที่คาร์โบไฮเดรตต้องใช้ด่างที่มีค่าเป็นกลาง แต่กระเพาะอาหารของเรามีค่าเป็นกรดกลางๆ ฉะนั้นคาร์โบไฮเดรตจึงไม่ถูกย่อยโดยกระเพาะอาหาร อาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเมื่อกระเพาะย่อยไม่ได้ก็จะเคลื่อนตัวลงสู่ลำไส้เล็ก แต่ลำไส้เล็กมีสภาพเป็นด่างอ่อนๆ จึงย่อยอาหารในหมู่นี้ไม่ได้เช่นเดียวกัน ถ้ากระเพาะอาหารมีกรดอยู่มาก ก็จะยิ่งเพิ่มจำนวนแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียจำทำให้โปรตีนเน่าเปื่อยในกระเพาะอาหาร
ดังนั้นการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ มีข้อสังเกตุคือ
1. โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ไม่สามารถย่อยได้พร้อมกัน ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานโปรตีนและคาโบไฮเดรตพร้อมกัน
2. ไขมันและคาโบไฮเดรตไม่สามารถย่อยได้พร้อมกัน
3. ควรรับประทานผลไม้ขณะท้องว่าง และไม่ควรรับประทานพร้อมอาหารอื่นๆ เพื่อให้ได้คุณค่าและวิตามินสูงสุด
4. การรับประทานอาหารง่ายๆ โดยไม่ผ่านการปรุงแต่งทำให้ระบบย่อยทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
5. ควรรับประทานผักผลไม้ดิบ
สาเหตุอีกประการของอาหารไม่ย่อย
คือ เอนไซม์ไม่เพียงพอต่อการย่อย เอนไซม์คือสิ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อทำให้เกิดปฎิกิริยาเคมีในการทำให้อาหารที่เรารับประทานเข้าไปมีขนาดเล็กลง เพื่อง่ายต่อระบบย่อยอาหาร ซึ่งเอนไซม์ในอาหารเหล่านี้มักถูกทำลายได้โดยง่ายจากการปรุงแต่งอาหาร ผ่านความร้อน และกระบวนการต่างๆ การปรุงอาหารโดยใช้ความร้อนกว่า 118 ฟาเรนไฮต์ สามารถทำลายเอนไซม์ในอาหารได้อย่างสิ้นเชิง
อีกสาเหตุคือ การรับประทานอาหารมากเกินไป ทำให้ระบบย่อยอาหารมีปัญหาและต้องทำงานอย่างหนัก การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้รวดเร็ว